รู้จักหน้ากากป้องกันทางเดินหายใจสำหรับงานอุตสาหกรรม
January 26, 2019 |
|
ปัจจุบันปัญหาเรื่องทางเดินหายใจกลายเป็นหนึ่งในปัญหาที่มีความเข้มข้นอย่างมาก โดยเฉพาะในเขตพื้นที่กรุงเทพและปริมณฑลที่สามารถมองเห็นฝุ่นควันได้ชัดเจน สำหรับบุคคลากรในภาคอุตสาหกรรมปัญหาที่เกิดขึ้นเหล่านี้กลายเป็นความเสี่ยงต่อสุขภาพที่เพิ่มสูงขึ้นมากกว่าภาคส่วนอื่นเนื่องจากต้องทำงานและใช้ชีวิตอยู่ในพื้นที่อุตสาหกรรมซึ่งมีแนวโน้มการเผชิญหน้ากับปัญหาทางเดินหายใจที่เข้มข้นยิ่งกว่าพื้นที่ใด ๆ ดังนั้นการทำความเข้าใจและเลือกใช้หน้ากากป้องกันทางเดินหายใจที่เหมาะสมจึงเป็นความรู้ที่หลีกเลี่ยงไม่ได้สำหรับทุกคนในสายงานอุตสาหกรรม |
|
 |
รู้จักประเภทของหน้ากากป้องกันทางเดินหายใจ |
|
หน้ากากสำหรับป้องกันทางเดินหายใจ (Respirator) นั้นสามารถจำแนกออกเป็น 2 ประเภทหลักตามรูปแบบการทำงาน ได้แก่
- กรองมลพิษในอากาศ
- ส่งต่ออากาศ
|
|
หน้ากากกรองมลพิษ |
|
หน้ากากสำหรับการกรองมลพิษนั้นสามารถจำแนกย่อยเป็น 2 ชนิดหลัก ได้แก่ การกรองอนุภาคและการกรองก๊าซ โดยการใช้งานหน้ากากสำหรับการกรองมลพิษมีดังนี้ |
|
- สามารถระบุการปนเปื้อนและความเข้มข้นของการปนเปื้อนได้
- ความเข้มข้นของอากาศอย่างน้อย 19.5%
- พื้นที่ปฏิบัติงานนั้นมีการเฝ้าระวัง
- หน้ากากนั้นต้องมีการรับรองการป้องกันสำหรับรูปแบบการปนเปื้อนแต่ละชนิดโดยเฉพาะรวมถึงระดับปริมาณการปนเปื้อนที่รองรับ รวมถึงการทดสอบสวมใส่
- สามารถกำจัดได้
- มีขนาดทั้งสวมใส่ขนาดเล็ก ครึ่งหน้าและครอบคลุมทั้งใบหน้า
|
|
สำหรับหน้ากากขนาดเล็กวัสดุโดยมากตัวกรองมักจะเป็นผ้าบ้างที่สวมใส่พอดีกับจมูกด้านบนและปลายคางการหายใจจะลำบากกว่าหน้ากากขนาดใหญ่ สำหรับหน้ากากแบบครึ่งหน้าจะสวมใส่ได้พอดีตั้งแต่ใต้คางจนเหนือจมูกขึ้นมา มีกระบอกกรอง 1 หรือ 2 ชิ้นเพื่อกรองอากาศและต้องทิ้งเมื่อถึงขีดจำกัดการใช้งาน โดยมากมักใช้กับการป้องกันฝุ่น ไอระเหย ก๊าซที่เป็นกรด แมลงรบกวน หรือเป็นการผสมผสานของภัยเหล่านี้ สำหรับหน้ากากครอบคลุมเต็มใบหน้าจะมีกระบอกกรอง 2 ชิ้น มีชิ้นส่วนล็อคอย่างหนาแน่น |
|
หน้ากากกรองอนุภาค เน้นการป้องกันกายภาพสำหรับฝุ่น ละอองหรือไฟเบอร์ การหายใจมีความรู้สึกลำบากและตัวกรองสกปรกได้ง่ายทำให้ต้องเปลี่ยนบ่อย |
|
หน้ากากกรองสารระเหยและก๊าซ เป็นการป้องกันสารเคมีจากก๊าซและสารระเหยต่าง ๆ ซึ่งการกรองด้วยหน้ากากกรองอนุภาคไม่สามารถทำได้ ตัวกรองทำหน้าที่ดูดซึมสารระเหย ตัวกรองนั้นมีแถบรหัสสีซึ่งบ่งบอกชนิดของสารระเหยที่ป้องกันได้ |
|
ชนิดของตัวกรองสามารถแบ่งกลุ่มได้ 3 กลุ่มใหญ่ ซึ่งเกี่ยวข้องกับความสามารถในการป้องกันละอองน้ำมัน ได้แก่ |
|
- N ไม่มีความสามารถต้านทานน้ำมันได้
- R มีความสามารถในการต้านทานน้ำมัน เหมาะสำหรับการใช้งานกะเดียว
- P มีความสามารถในการป้องกันน้ำมัน สามารถใช้งานซ้ำได้
|
|
หน้ากากสำหรับส่งต่ออากาศ |
|
หน้ากากสำหรับส่งต่ออากาศนั้นต้องสามารถส่งต่ออากาศบริสุทธิ์เกรด D ได้ มักใช้ในพื้นที่ซึ่งมีการปนเปื้อนที่หน้ากากสำหรับกรองมลพิษไม่สามารถใช้งานได้ สามารถแบ่งได้ 2 ชนิดหลัก ได้แก่ แบบติดตั้งถังอากาศพกพาและแบบต่อสายเพื่อส่งอกาศจากตำแหน่งภายนอก หน้ากากสำหรับส่งต่ออากาศมักใช้ภายใต้สถานการณ์ดังต่อไปนี้ |
|
- มีการปนเปื้อนสูงในื้นที่ปิด
- มีก๊าซพิษ
- ออกซิเจนในอากาศโดยรอบถูกแทนที่ด้วยก๊าซหรือสารเคมี หรือถูกใช้ไป เช่น เหตุการณ์ไฟไหม้
- อุณภูมิสูงหรือต่ำเกินไป
- ในสภาพแวดล้อมที่มีมลพิษสูง
|
|
หน้ากากสำหรับส่งต่ออากาศนี้มีข้ควรระวังในเรื่องของความคล่องตัวและสภาพของสายอากาศ โดยถังอากาศสำหรับพกพาควรจะมีอากาศเพียงพอสำหรับการปฏิงานอย่างน้อย 30 นาที ถึง 1 ชั่วโมง การใช้งานถังอากาศจำเป็นต้องคำนึงถึงแรงดันด้วยเช่นกัน |
|
สิ่งสำคัญสำหรับการใช้งานหน้ากากทุกประเภท คือ การใส่หน้ากากได้อย่างมิดชิดพอดี เพื่อให้มั่นใจได้ว่าสิ่งปนเปื้อนจะไม่รั่วไหลเข้าสู่ระบบทางเดินหายใจผ่านทางช่องโหว่ที่เกิดขึ้น นอกจากนี้การใช้งานหน้ากากบางประเภทอาจมีข้อจำกัดบางประการ เช่น กลุ่มหน้ากากขนาดเล็กไม่เหมาะกับผู้สวมใส่ที่มีหนวดเคราเนื่องจากอาจก่อให้เกิดช่องว่างทำให้สิ่งปนเปื้อนหลุดรอดได้ |
|
ที่มา : https://www.mmthailand.com/รู้จักหน้ากากป้องกัน/ |